สัญญาณไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจรตัวช่วยการจัดระเบียบการสัญจรบนท้องถนน

สารบัญ

สัญญาณไฟจราจรคืออะไร?
สัญญาณไฟจราจรมีอะไรบ้าง
     1. สัญญาณไฟสีเขียว
     2. สัญญาณไฟสีเหลือง
     3. สัญญาณไฟสีแดง
สัญญาณไฟจราจรแบบกระพริบมีความหมายอย่างไร
     1. สัญญาณไฟสีแดงกระพริบ
     2. สัญญาณไฟสีเหลืองกะพริบ
     3. สัญญาณไฟจราจรสีแดงที่แสดงออกมาเป็นเครื่องหมายกากบาท
     4. สัญญาณลูกศร
รู้เรื่องสัญญาณไฟจราจรเพิ่มขึ้นอีกนิด
ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรมีโทษอย่างไร

การจัดระเบียบบนท้องถนนที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นนอกจากป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วยังมีสัญญาณไฟจราจรที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างมาก สัญญาณไฟสีที่เราเห็นเป็นประจำทำหน้าที่อย่างไร มีอะไรที่เราจะต้องรู้เพิ่มมากขึ้นไหม วันนี้เราจะมาทำความรู้จักสัญญาณไฟจราจรให้มากขึ้นเพื่อที่จะปฏิบัติตัวบนท้องถนนอย่างถูกวิธีกันค่ะ

ภาพสัญญาณไฟจราจรแบบมาตรฐาน
รูปภาพจาก Th.taylrrenee.com

สัญญาณไฟจราจรคืออะไร?

สัญญาณไฟจราจรหรือเราเรียกกันง่ายๆ ว่า “ไฟแดง” ก็คือเสาไฟที่จะมีประจำตามแยกต่าง ๆ เพื่อให้สัญญาณคนที่ใช้ท้องถนนโดยสัญลักษณ์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 สี คือ สีแดง สีเขียวและสีเหลือง โดยระบบไฟจะถูกตั้งอัตโนมัติโดยตำรวจจราจรผู้รับผิดชอบถนนสายนั้น ๆ ในการกำหนดสัญญาณไฟจะยึดรถบนท้องถนนและช่วงเวลาเป็นหลักว่าช่วงเวลาไหนที่จะตั้งสัญญาณไฟอย่างไรเพื่อจัดระเบียบการจราจรให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับคนใช้รถใช้ถนนมากที่สุด

สัญญาณไฟจราจรมีอะไรบ้าง

อย่างที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ สัญญาณไฟจราจรมีทั้งหมด 3 สี ซึ่งแต่ละสีก็มีความหมายที่แตกต่างกันและเราควรที่จะทำความเข้าใจอย่างละเอียด ซึ่งแต่ละสีมีความหมายแตกต่างกันดังนี้

     1. สัญญาณไฟสีเขียว

สีเขียว หมายถึง การอนุญาตให้รถขับผ่านไปได้ เป็นสีที่ทุกๆคนที่ขับรถจะชอบมากเลยทีเดียวเพราะไม่มีใครอยากจะจอดรถรอสัญญาณไฟเขียวนานๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันมักจะมีตัวเลขกำหนดเป็นวินาทีนับถอยหลังไปเรื่อยๆ จนครบตามกำหนดเวลาที่ได้ทำการตั้งระบบไว้ ซึ่งในบางแยกที่มีการจราจรหนาแน่นตัวเลขนับถอยหลังไฟเขียวขึ้นไม่ถึง 10 วินาทีเลยก็มี

     2. สัญญาณไฟสีเหลือง

สีเหลือง หมายถึง เตรียมหยุดรถ ไฟสีเหลืองนี้ยังเป็นสัญญาณที่เข้าใจผิดอยู่มาก เพราะส่วนใหญ่ที่พบเห็นเมื่อสัญญาณไฟเหลืองแสดงออกมาแทนที่จะเตรียมตัวหยุดรถกลับกลายเป็นรีบเร่งเครื่องให้ผ่านแยกไปก่อนที่ไฟแดงจะปรากฏ ทำให้หลายแยกเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดังนั้นเมื่อเห็นสัญญาณไฟจราจรสีเหลือง ควรหยุดรถเพื่อความปลอดภัยจะดีกว่า

     3. สัญญาณไฟสีแดง

สีแดง หมายถึง หยุดรถ สัญญาณไฟที่คนขับขี่ต้องหยุดรถเพื่อหลีกทางให้รถคันอื่นได้สัญจรอย่างเป็นระเบียบ ถ้ามีคนฝ่าฝืนรับรองว่าเกิดอุบัติเหตุแน่ๆ ตามแยกต่างๆ ตอนนี้ก็มีการนับเวลาถอยหลังให้ได้เตรียมตัวออกรถเช่นกัน

การจราจรบนแยกสัญญาณไฟจราจร
รูปภาพจาก www.cm108.com

สัญญาณไฟจราจรแบบกระพริบมีความหมายอย่างไร

นอกจากสัญญาณไฟทั้ง 3 สีแล้ว ยังมีสัญญาณไฟจราจรแบบพิเศษที่จะส่งสัญญาณให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนคือสัญญาณไฟกระพริบ โดยเมื่อเห็นสัญญาณกระพริบนั้นไม่ใช่ระบบไฟเสียแต่อย่างใดนะคะ แต่เป็นสัญญาณบางอย่างที่ต้องรู้ไว้เช่นเดียวกันกับสัญญาณไฟปกติ นอกจากนั้นยังทำให้เราได้รู้ว่าเส้นทางที่เราขับขี่อยู่เป็นเส้นทางเอก (เส้นทางหลักที่จะได้สิทธิทางกฎหมายให้ไปก่อน) หรือเส้นทางโท (เส้นทางรองที่ต้องรอเพื่อให้ทางเอกขับเคลื่อนออกไปก่อน) โดยสัญญาณไฟกระพริบแต่ละอันนั้นมีความหมายดังต่อไปนี้

    1. สัญญาณไฟสีแดงกระพริบ

สัญญาณไฟสีแดงกระพริบ หมายความว่าผู้ขับขี่รถต้องหยุดรถและสังเกตบนท้องถนนก่อนว่าปลอดภัยถึงไปต่อไปและยังแสดงให้รู้ว่ารถของเรากำลังขับเคลื่อนบนถนนที่ไม่ใช่เส้นทางเอก ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่ต้องหยุดเพื่อดูว่ามีรถจากทางเอกสวนมาหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

     2. สัญญาณไฟสีเหลืองกะพริบ

สัญญาณไฟสีเหลืองกะพริบ หมายความว่าให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วและสังเกตว่าถนนในเวลานั้นๆ ปลอดภัยหรือไม่และยังแสดงให้ผู้ขับขี่ทราบว่าขับขี่มาบนถนนเส้นทางเอกแต่ก็ต้องระวังการขับขี่ของเส้นทางโทเช่นกันค่ะ

     3. สัญญาณไฟจราจรสีแดงที่แสดงออกมาเป็นเครื่องหมายกากบาท

สัญญาณไฟจราจรสีแดงที่แสดงออกมาเป็นเครื่องหมายกากบาท หมายถึงห้ามไม่ให้ผู้ขับขี่ขับผ่านช่องทางนั้นอย่างเด็ดขาด

     4. สัญญาณลูกศร

สัญญาณลูกศร บอกให้ผู้ขับขี่ทราบถึงความสามารถในการใช้เส้นทางนั้นๆ ถ้าขึ้นลูกศรสีเขียวก็สามารถไปได้ ลูกศรสีแดงคือไม่สามารถผ่านไปได้นั้นเองค่ะ

ตัวเลขบนสัญญาณไฟจราจร
รูปภาพจาก www.hugsinsurance.com

รู้เรื่องสัญญาณไฟจราจรเพิ่มขึ้นอีกนิด

สัญญาณจราจรที่เห็นกันบนท้องถนนจะเป็นวงกลมที่ใช้หลอดไฟ LED ที่ทำงานคู่กับพลาสติกที่เป็นวงกลมสีเขียว แดง เหลือง ซึ่งพลาสติกเหล่านั้นมีคุณสมบัติป้องกันรังสี UV จากแสงแดด และดวงไฟแต่ละดวงจะมีระบบการทำงานที่แยกกันทำให้เมื่อมีดวงใดดวงหนึ่งชำรุดดวงอื่นๆ ก็ยังคงใช้งานได้ปกติ วงกลมพลาสติกเหล่านั้นมีทั้งหมด 3 ขนาด คือ 100 มม., 200 มม.และ 300 มม.
ซึ่งหลักการในการตัดสินว่าจะใช้ขนาดใดก็ขึ้นอยู่กับถนนสายนั้น ๆ และจุดที่จะตั้งเสาไฟสัญญาณจราจร วัสดุในการทำสัญญาณไฟจราจรแน่นอนต้องทนแดดทนฝนและวงจรของเสาไฟจราจรก็จะมีระบบป้องกันต่างๆ เพื่อให้การทำงานของสัญญาณไฟจราจรมีประสิทธิภาพสูงสุด

ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรมีโทษอย่างไร

แน่นอนว่าผู้ขับขี่ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรจะต้องมีบทลงโทษตามกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 1,000 บาทหากฝ่าฝืนโดยที่ไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย แต่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อน เสียหายทางทรัพย์สิน หรือมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจะได้รับข้อหาขับรถโดยประมาท ซึ่งอาจจะได้รับโทษทั้งจำทั้งปรับและยังต้องชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีอีกด้วย

สัญญาณไฟจราจรมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการจัดระเบียบบนท้องถนนและสร้างความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรจนทำให้เกิดเรื่องไม่คาดฝันหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้นจึงมีกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อลงโทษผู้ขับขี่ที่กระทำผิด

นอกจากสัญญาณไฟจราจรแล้วยังมีกฎหมายบังคับใช้อื่นๆ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อการคุ้มครองผู้ขับขี่อย่างเช่น ประกันอุบัติเหตุและ พ.ร.บ. ดังนั้นนอกจากศึกษากฎของสัญญาณไฟจราจรและป้ายต่างๆ บนท้องถนน โทษที่จะได้รับแล้วยังต้องศึกษาประกันที่คุ้มครองและชดเชยเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันด้วย และผู้ขับขี่จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีสามัญสำนึกและสติในการขับขี่อยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของคุณและของผู้อื่นนะคะ

Ref.
https://www.motorexpo.co.th/blog/3583
https://drivepermit.blogspot.com/2016/01/traffic-lights.html
http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/2_7.pdf

Share

บทความและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • สัญญาณไฟจราจร

    สัญญาณไฟจราจรตัวช่วยการจัดระเบียบการสัญจรบนท้องถนน

    สารบัญ สัญญาณไฟจราจรคืออะไร? สัญญาณไฟจราจรมีอะไรบ้าง      1. สัญญาณไฟสีเขียว      2. สัญญาณไฟสีเหลือง      3. สัญญาณไฟสีแดง สัญญาณไฟจราจรแบบกระพริบมีความหมายอย่างไร      1. สัญญาณไฟสีแดงกระพริบ      2. สัญญาณไฟสีเหลืองกะพริบ      3. สัญญาณไฟจราจรสีแดงที่แสดงออกมาเป็นเครื่องหมายกากบาท      4. สัญญาณลูกศร รู้เรื่องสัญญาณไฟจราจรเพิ่มขึ้นอีกนิด ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรมีโทษอย่างไร การจัดระเบียบบนท้องถนนที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นนอกจากป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วยังมีสัญญาณไฟจราจรที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างมาก สัญญาณไฟสีที่เราเห็นเป็นประจำทำหน้าที่อย่างไร มีอะไรที่เราจะต้องรู้เพิ่มมากขึ้นไหม วันนี้เราจะมาทำความรู้จักสัญญาณไฟจราจรให้มากขึ้นเพื่อที่จะปฏิบัติตัวบนท้องถนนอย่างถูกวิธีกันค่ะ สัญญาณไฟจราจรคืออะไร? สัญญาณไฟจราจรหรือเราเรียกกันง่ายๆ ว่า “ไฟแดง” ก็คือเสาไฟที่จะมีประจำตามแยกต่าง ๆ เพื่อให้สัญญาณคนที่ใช้ท้องถนนโดยสัญลักษณ์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 สี คือ สีแดง สีเขียวและสีเหลือง โดยระบบไฟจะถูกตั้งอัตโนมัติโดยตำรวจจราจรผู้รับผิดชอบถนนสายนั้น ๆ ในการกำหนดสัญญาณไฟจะยึดรถบนท้องถนนและช่วงเวลาเป็นหลักว่าช่วงเวลาไหนที่จะตั้งสัญญาณไฟอย่างไรเพื่อจัดระเบียบการจราจรให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับคนใช้รถใช้ถนนมากที่สุด สัญญาณไฟจราจรมีอะไรบ้าง…

  • ถนนลื่น

    ถนนลื่น!ขับมอเตอร์ไซค์อย่างไรจะปลอดภัยที่สุด! สานต่อยานยนต์

    ถนนลื่นเกิดจากอะไร? ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด สารบัญ ทำไมตอนฝนตกถนนถึงลื่นกว่าปกติ อุบัติเหตุทางถนนที่มักเกิดในช่วงเวลาฝนตก      1.  อุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกัน      2.  ชนปะทะกับผู้คนที่กำลังข้ามถนน      3.  ล้อปัดของรถที่เกิดจากการเบรกกะทันหัน      4.  การชนที่เกิดจากการมองเห็นไม่ชัดเจน<      5.  ขับรถชนสิ่งกรีดขว้างบนถนน ข้อควรระวังเมื่อขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะถนนลื่น เช็กรถมอเตอร์ไซค์เพิ่มความมั่นใจในหน้าฝน การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะฝนตกนั้นเป็นที่รู้กันว่าจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก ไม่เพียงแต่วิสัยทัศน์ในการมองเห็นของผู้ขับขี่ลดลง แต่ยังมีอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนฝนตกแล้วถนนลื่นอีกด้วย เนื่องจากความต้านทานของยางรถกับพื้นถนนน้อยลงทำให้การทำงานของเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ยากขึ้น ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ควรต้องมีวิธีป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรบ้างนั้น มาดูไปด้วยกันเลยค่ะ ทำไมตอนฝนตกถนนถึงลื่นกว่าปกติ เมื่อฝนตกถนนจะเปียกและลื่นกว่าปกติมาก การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะที่ฝนตกจึงมีอุปสรรคมากกว่าเดิม เหตุที่ถนนลื่นตอนฝนตกนั้นเพราะมีน้ำฝนมาเป็นตัวขั้นกลางระหว่างล้อรถมอเตอร์ไซค์กับถนน โดยในช่วง 10 นาทีแรกน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีการผสมเข้ากับฝุ่นผงที่อยู่บนถนนทำให้เกิดเป็นดินโคลน ทำให้ยางล้อรถมีความต้านทานน้อยลงมา ยางรถไม่เกาะถนน ช่วงที่มีฝนตกลงมาแรก ๆ จึงควรต้องระวังมากเป็นพิเศษ เมื่อฝนเริ่มตกไปสักระยะความต้านทานจะสูงขึ้นแต่ก็ยังคงต้องระวังอยู่เพราะล้อรถยังคงมีแรงต้านทานไม่เท่ากับวิ่งบนถนนแห้งปกติ อุบัติเหตุทางถนนที่มักเกิดในช่วงเวลาฝนตก เมื่อฝนตกจึงทำให้ถนนลื่น แน่นอนว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติจึงจำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากขึ้นจากอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยอุบัติเหตุทางถนนที่มักจะพบเจอได้ในช่วงเวลาที่ฝนตก คือ…

  • เติมน้ำมันผิด

    เติมน้ำมันผิด เรื่องไม่น่าผิดที่ผิดกันได้ของคนใช้รถมอเตอร์ไซค์

    สารบัญ รถมอเตอร์ไซค์เติมน้ำมันอะไรได้บ้าง?  เบนซิน 95 เบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 95 แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ E85 แก๊สโซฮอล์ E85 อาการรถมอเตอร์ไซค์ที่เติมน้ำมันผิด วิธีการแก้ไข เมื่อรู้ตัวว่าเติมน้ำมันผิดประเภท เมื่อเติมน้ำมันผิด ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ ติดต่อปั๊มน้ำมันหรือร้านซ่อมเครื่องยนต์ทันที หลังดูดน้ำมันออก ควรใช้น้ำมันที่ถูกต้องและเคยใช้งานมาก่อน ถ้าการเติมน้ำมันผิดเกิดจากพนักงาน วิธีป้องกันการเติมน้ำมันผิดด้วยวิธีง่าย ๆ ติดสัญลักษณ์หรือสติ๊กเกอร์ว่ารถของคุณเติมน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไหนได้บ้าง การทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ ย้ำกับพนักงานหรือบอกพนักงานให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนเติมน้ำมัน รถมอเตอร์ไซค์แต่ละรุ่นมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ต่างกัน และเรื่องการเติมน้ำมันผิดก็ดูเหมือนเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คน ทำผิดพลาดกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเกิดจากการเข้าใจผิดของเจ้าของรถหรือพนักงานเติมน้ำมัน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้วจะส่งผลอะไรต่อเครื่องยนต์รถบ้าง และเราจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร อาการหนักสุดต้องเปลี่ยนคันใหม่เลยหรือเปล่า ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย รถมอเตอร์ไซค์เติมน้ำมันอะไรได้บ้าง? น้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกมากมายซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีผลต่อเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ต่างกันตามค่าออกเทนที่ผสมอยู่ในน้ำมันชนิดนั้น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน หรือ แก๊สโซฮอล์ โดยน้ำมันเชื้อเพลงสำหรับรถมอเตอร์ไซค์สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้          1. เบนซิน 95 น้ำมันเบนซิน 95…