ไขปริศนาหมวกกันน็อกทำไมถึงช่วยป้องกันเราจากอันตรายได้

หมวกกันน็อก ถือเป็นอุปกรณ์ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรที่สำคัญมากที่สุดสำหรับชาวสองล้อ แต่ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่สิ่งนี้กลับกลายเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ละเลยมากที่สุดเช่นกัน

ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า หลาย ๆ คนยังไม่ทราบว่าประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุมากมายขนาดไหน มากจนทำให้ปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยขึ้นอันดับหนึ่ง “ประเทศที่มีอัตราผู้เสียชีวิตบนท้องถนนมากที่สุดในโลก” และ 70 เปอร์เซ็นต์ของอุบัติเหตุทั้งหมดคือมอเตอร์ไซค์

วันนี้ เราจึงขอรวบรวมเหตุผลต่าง ๆ ที่จะทำให้ทุกคนเห็นว่า หมวกกันน็อก สำคัญขนาดไหนกับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ และจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไร โดยเราหวังว่าทุกคนจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสวมใส่หมวกกันน็อกขณะขับขี่มากยิ่งขึ้น

การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและพิการ

คุณรู้หรือไม่ว่าตามสถิติแล้ว การ ‘เสียชีวิต’ จากการใช้ยานพาหนะสองล้อ มีสาเหตุหลักจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ สูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ ซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากเลยทีเดียว และในประเทศไทยก็มีความนิยมของการใช้มอเตอร์ไซค์มากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นแปลว่า อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุของชาวมอเตอร์ไซค์ก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าหนทางที่จะทำให้สถิติเหล่านี้ลดลง ง่าย ๆ เพียงแค่ใส่ ‘หมวกกันน็อก’

การบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับศีรษะหากไม่สวมหมวกกันน็อก

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ‘การบาดเจ็บของศีรษะจากอุบัติเหตุ’ เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงทำให้เกิดอาการกะโหลกร้าว สมองช้ำ หรือสมองบวม

ศีรษะของเราแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นผิวหนัง ชั้นกะโหลก และชั้นสมอง โดยที่รอบ ๆ สมองของเรา จะมีของเหลวหล่อเลี้ยงอยู่ เพื่อปกป้องสมองจากการกระแทก ในอุบัติเหตุ ส่วนมากศีรษะของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ มีโอกาสสูงที่จะไปกระแทกของแข็งอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวกะโหลกหยุดเคลื่อนไหวกะทันหัน แต่สมองที่ลอยตัวอยู่ในกะโหลกไม่เป็นอย่างนั้น มันจะเคลื่อนตัวไปกระแทกกับกะโหลกหลายต่อหลายครั้ง หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ‘สมองได้รับการกระทบกระเทือน’ ทำให้สมองได้รับบาดเจ็บ จนเกิดอาการช้ำ บวม หรือหากร้ายแรงมาก ๆ อาจจะทำให้กะโหลกศีรษะร้าวก็เป็นได้

หมวกกันน็อกทำงานอย่างไร

หมวกกันน็อก มีทั้งหมด 5 ส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่ในการปกป้องศีรษะของเราแตกต่างกันไป

  • ส่วนที่ 1: เปลือกหมวกกันน็อก (Outer Shell) – เปลือกหมวกกันน็อกจะทำหน้าที่รับแรงกระแทกแล้วกระจายไปรอบ ๆ เพื่อดูดซับแรงก่อนถึงศีรษะ
  • ส่วนที่ 2: โฟมกันกระแทก (Impact Absorbing Liner) – ส่วนมากทำจากวัสดุ โพลีสเทอรีน นิยมเรียกกันว่า “Styrofoam” จะเป็นชั้นที่หนาที่สุด เพื่อดูดซึมแรงกระแทกไว้ โดยหมวกกันน็อกบางยี่ห้ออย่าง ‘H2C’ จะมีการดีไซน์โฟมกันกระแทกแบบ ‘Double Density’ ที่ทำให้รองรับแรงกระแทบได้มากยิ่งขึ้น
  • ส่วนที่ 3: ฟองน้ำ (Comfort Padding) – หน้าที่ของมันคือทำให้สวมใส่ได้สบาย และทำให้หมวกกระชับกับศีรษะ ทำให้หมวกไม่หมุนหรือขยับระหว่างขับขี่หรือล้ม
  • ส่วนที่ 4: หน้ากาก (Face Shield) – มีหน้าที่กันลมและเศษหินหรือวัสดุต่าง ๆ ไม่ให้กระทบหน้า ป้องกันการเกิดอาการตาอักเสบ จนอาจจะทำให้เกิด ‘ต้อลม’ ได้
  • ส่วนที่ 5: สายรัดคาง (Chin Strap) – นี่คือส่วนที่สำคัญที่สุด แต่คนมักไม่ให้ความสำคัญ หลายคนชอบสวมใส่หมวกกันน็อกโดยไม่ติดสายรัดคาง ซึ่งอาจส่งผลให้หมวกกันน็อกกระเด็นหลุดออกจากศีรษะเราหากเกิดการกระแทก ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ยังมีอีกหนึ่งสถิติที่น่าสนใจ คือ ‘มีเด็กไทยจำนวนมากถึง 1.7 ล้านคนที่โดยสารโดยใช้รถมอเตอร์ไซค์ แต่มีเพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นต์หรือราว ๆ 1.2 แสนคนเท่านั้นที่สวมใส่หมวกกันน็อก’ และสาเหตุหลักมาจาก ผู้ปกครอง ไม่สวมใส่ให้ ซึ่งเรากำลังจะบอกว่า นอกจากคุณจะห่วงตัวของคุณเองแล้ว คนรอบข้างโดยเฉพาะลูกหลานของคุณก็ต้องได้รับความห่วงใยนี้อย่างทั่วถึงด้วย เพราะ ‘เด็กทุกคนมีความฝันและความฝันจะเป็นจริงไม่ได้ถ้าหากพวกเขาไม่ได้โต’

ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไม เราจึงควรใส่หมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะรีบ จะขับไป ใกล้-ไกล แค่ไหนก็ควรสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง และไม่ใช่แค่คุณแต่ผู้ที่ร่วมเดินทางไปกับคุณก็ต้องสวมใส่หมวกกันน็อกด้วย

เอ.พี. ฮอนด้า หวังว่าสถิติเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสวมหมวกกันน็อกขณะที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก

ที่มา : www.thaihonda.co.th

Share

บทความและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • สัญญาณไฟจราจร

    สัญญาณไฟจราจรตัวช่วยการจัดระเบียบการสัญจรบนท้องถนน

    สารบัญ สัญญาณไฟจราจรคืออะไร? สัญญาณไฟจราจรมีอะไรบ้าง      1. สัญญาณไฟสีเขียว      2. สัญญาณไฟสีเหลือง      3. สัญญาณไฟสีแดง สัญญาณไฟจราจรแบบกระพริบมีความหมายอย่างไร      1. สัญญาณไฟสีแดงกระพริบ      2. สัญญาณไฟสีเหลืองกะพริบ      3. สัญญาณไฟจราจรสีแดงที่แสดงออกมาเป็นเครื่องหมายกากบาท      4. สัญญาณลูกศร รู้เรื่องสัญญาณไฟจราจรเพิ่มขึ้นอีกนิด ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรมีโทษอย่างไร การจัดระเบียบบนท้องถนนที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นนอกจากป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วยังมีสัญญาณไฟจราจรที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างมาก สัญญาณไฟสีที่เราเห็นเป็นประจำทำหน้าที่อย่างไร มีอะไรที่เราจะต้องรู้เพิ่มมากขึ้นไหม วันนี้เราจะมาทำความรู้จักสัญญาณไฟจราจรให้มากขึ้นเพื่อที่จะปฏิบัติตัวบนท้องถนนอย่างถูกวิธีกันค่ะ สัญญาณไฟจราจรคืออะไร? สัญญาณไฟจราจรหรือเราเรียกกันง่ายๆ ว่า “ไฟแดง” ก็คือเสาไฟที่จะมีประจำตามแยกต่าง ๆ เพื่อให้สัญญาณคนที่ใช้ท้องถนนโดยสัญลักษณ์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 สี คือ สีแดง สีเขียวและสีเหลือง โดยระบบไฟจะถูกตั้งอัตโนมัติโดยตำรวจจราจรผู้รับผิดชอบถนนสายนั้น ๆ ในการกำหนดสัญญาณไฟจะยึดรถบนท้องถนนและช่วงเวลาเป็นหลักว่าช่วงเวลาไหนที่จะตั้งสัญญาณไฟอย่างไรเพื่อจัดระเบียบการจราจรให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับคนใช้รถใช้ถนนมากที่สุด สัญญาณไฟจราจรมีอะไรบ้าง…

  • ถนนลื่น

    ถนนลื่น!ขับมอเตอร์ไซค์อย่างไรจะปลอดภัยที่สุด! สานต่อยานยนต์

    ถนนลื่นเกิดจากอะไร? ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด สารบัญ ทำไมตอนฝนตกถนนถึงลื่นกว่าปกติ อุบัติเหตุทางถนนที่มักเกิดในช่วงเวลาฝนตก      1.  อุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกัน      2.  ชนปะทะกับผู้คนที่กำลังข้ามถนน      3.  ล้อปัดของรถที่เกิดจากการเบรกกะทันหัน      4.  การชนที่เกิดจากการมองเห็นไม่ชัดเจน<      5.  ขับรถชนสิ่งกรีดขว้างบนถนน ข้อควรระวังเมื่อขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะถนนลื่น เช็กรถมอเตอร์ไซค์เพิ่มความมั่นใจในหน้าฝน การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะฝนตกนั้นเป็นที่รู้กันว่าจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก ไม่เพียงแต่วิสัยทัศน์ในการมองเห็นของผู้ขับขี่ลดลง แต่ยังมีอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนฝนตกแล้วถนนลื่นอีกด้วย เนื่องจากความต้านทานของยางรถกับพื้นถนนน้อยลงทำให้การทำงานของเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ยากขึ้น ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ควรต้องมีวิธีป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรบ้างนั้น มาดูไปด้วยกันเลยค่ะ ทำไมตอนฝนตกถนนถึงลื่นกว่าปกติ เมื่อฝนตกถนนจะเปียกและลื่นกว่าปกติมาก การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะที่ฝนตกจึงมีอุปสรรคมากกว่าเดิม เหตุที่ถนนลื่นตอนฝนตกนั้นเพราะมีน้ำฝนมาเป็นตัวขั้นกลางระหว่างล้อรถมอเตอร์ไซค์กับถนน โดยในช่วง 10 นาทีแรกน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีการผสมเข้ากับฝุ่นผงที่อยู่บนถนนทำให้เกิดเป็นดินโคลน ทำให้ยางล้อรถมีความต้านทานน้อยลงมา ยางรถไม่เกาะถนน ช่วงที่มีฝนตกลงมาแรก ๆ จึงควรต้องระวังมากเป็นพิเศษ เมื่อฝนเริ่มตกไปสักระยะความต้านทานจะสูงขึ้นแต่ก็ยังคงต้องระวังอยู่เพราะล้อรถยังคงมีแรงต้านทานไม่เท่ากับวิ่งบนถนนแห้งปกติ อุบัติเหตุทางถนนที่มักเกิดในช่วงเวลาฝนตก เมื่อฝนตกจึงทำให้ถนนลื่น แน่นอนว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติจึงจำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากขึ้นจากอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยอุบัติเหตุทางถนนที่มักจะพบเจอได้ในช่วงเวลาที่ฝนตก คือ…

  • เติมน้ำมันผิด

    เติมน้ำมันผิด เรื่องไม่น่าผิดที่ผิดกันได้ของคนใช้รถมอเตอร์ไซค์

    สารบัญ รถมอเตอร์ไซค์เติมน้ำมันอะไรได้บ้าง?  เบนซิน 95 เบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 95 แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ E85 แก๊สโซฮอล์ E85 อาการรถมอเตอร์ไซค์ที่เติมน้ำมันผิด วิธีการแก้ไข เมื่อรู้ตัวว่าเติมน้ำมันผิดประเภท เมื่อเติมน้ำมันผิด ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ ติดต่อปั๊มน้ำมันหรือร้านซ่อมเครื่องยนต์ทันที หลังดูดน้ำมันออก ควรใช้น้ำมันที่ถูกต้องและเคยใช้งานมาก่อน ถ้าการเติมน้ำมันผิดเกิดจากพนักงาน วิธีป้องกันการเติมน้ำมันผิดด้วยวิธีง่าย ๆ ติดสัญลักษณ์หรือสติ๊กเกอร์ว่ารถของคุณเติมน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไหนได้บ้าง การทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ ย้ำกับพนักงานหรือบอกพนักงานให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนเติมน้ำมัน รถมอเตอร์ไซค์แต่ละรุ่นมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ต่างกัน และเรื่องการเติมน้ำมันผิดก็ดูเหมือนเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คน ทำผิดพลาดกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเกิดจากการเข้าใจผิดของเจ้าของรถหรือพนักงานเติมน้ำมัน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้วจะส่งผลอะไรต่อเครื่องยนต์รถบ้าง และเราจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร อาการหนักสุดต้องเปลี่ยนคันใหม่เลยหรือเปล่า ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย รถมอเตอร์ไซค์เติมน้ำมันอะไรได้บ้าง? น้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกมากมายซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีผลต่อเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ต่างกันตามค่าออกเทนที่ผสมอยู่ในน้ำมันชนิดนั้น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน หรือ แก๊สโซฮอล์ โดยน้ำมันเชื้อเพลงสำหรับรถมอเตอร์ไซค์สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้          1. เบนซิน 95 น้ำมันเบนซิน 95…